วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของปลาทอง



ปลาทองแต่ละพันธุ์จะมีรูปร่างลักษณะ เฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์ จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์ มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน

สายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาทองที่พบทั่วไปในธรรมชาติ จะมีลักษณะคล้ายปลาไนแต่ปลาทองจะมีขนาดที่เล็กกว่ามาก ปลาทองจะรูปร่างค่อนข้างป้อมและแบนข้างเล็กน้อย ส่วนปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้นๆ 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาวครีบหางเป็นแฉก ลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม บริเวณท้องของปลาทองจะมีสีจางกว่าลำตัวหรือมีสีขาวเงิน
แต่เนื่องจากมีการเลี้ยงปลาทองอย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ประกอบกับปลาทองเป็นปลา ที่สามารถผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาอื่นๆในกลุ่มเดียวกันได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆ อย่างแพร่หลาย ทำให้ปลาทองมีลักษณะเด่น และมีสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามสายพันธุ์ของปลาทอง ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์ดั่งเดิ่มจากการพัฒนาสายพันธุ์ของปลาทอง ได้แก่ ครีบหาง, ครีบก้น, ครีบหลัง, ส่วนหัว, และ ตา เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปลาทอง

ปลาทอง

ปลาทองเป็นปลาน้ำจืด ที่ชื่อมีความหมายที่ดี และ ล้ำค่าแก่เจ้าของ และปลาทองยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาทอง ไว้ดูเล่น หรือ เลี้ยงปลาทองไว้เป็นเคล็ดฮวงจุ้ย ปลาทองมีสายพันธุ์ที่หลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาด ใน และ ต่างประเทศอย่างมาก และ การเพาะเลี้ยงปลาทองก็เป็นอีกอาชีพที่ สร้างรายได้ ได้เป็นอย่างดี
การเลี้ยงปลาทอง มีมานานกว่า 2000 ปี โดยเฉพาะในประเทศจีน และญี่ปุ่น ชึ่งตามประวัติแล้ว ถือได้ว่า ปลาทอง เป็นปลาชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยงเพื่อความสวยงามก็ว่าได้ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง อย่างมากมาย และหลากหลาย ซึ่งได้แก่
ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ (Lion head), พันธุ์ออแรนดา (Oranda), ปลาทอง เกล็ดแก้ว (Pearl scale),
ปลาทองตาโปน (Telescope eye), ปลาทองพันธุ์ริวกิ้น (Ryukin) ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eye) เป็นต้น
ซึ่งนอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาทองอีกหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถเลือกเลี้ยงได้ตามความชอบ และความพอใจ



หลายคนเรียก ปลาทอง ว่า ปลาเงินปลาทอง โดยมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Goldfish ซึ่งปลาทอง เป็น
ปลาที่อยู่ในตระกลู Cyprinidae โดยชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาทอง คือ Carassius auratus (Linn.)

ปลาทอง มีต้นกำเนิดอยู่ ทางตอนใต้ ของประเทศจีน โดยในธรรมชาติ ปลาทองชอบอาศัยตามหนองน้ำ และ ลำคลองที่ใสสะอาด
ที่ติดกับแม่น้ำ ในสภาพแวดล้อมที่ดี ปลาทอง สามารถมีอายุขัย ยืนยาวอยู่ได้ถึง 20 ถึง 30 ปี เลยทีเดียว สำหรับปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7-8 ปี เท่านั้น พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี

ประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น ก็เป็นประเทศที่นิยมเลี้ยงปลาทอง เป็นอันดับต้นๆของโลก และยังเป็นศูนย์กลาง
ในการส่งออก ปลาทอง ที่ใหญ่มากอีกด้วย

ปลาทอง ในประเทศไทยนั้น การเพาะ ปลาทอง ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็น ราชบุรี นนทบุรี นครปฐม และ กทม.
การเพาะเลี้ยงปลาทอง ในประเทศไทย นั้นส่วนใหญ่จะเพาะพันธุ์ ปลาทอง เพื่อการจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น

การแยกเพศปลาทอง

การจำแนกเพศปลาทอง

การที่เราจะดูว่าปลาทองที่เราเลี้ยงไว้นั้นเป็นเพศผู้ หรือเพศเมีย นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด หลายคนคงสงสัยว่าปลาทองนั้นดูเพศได้อย่างไร เพราะดูๆแล้ว ปลาทองดูยังไง ก็หน้าตาเหมือนๆกัน แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวไหนเพศผู้ตัวไหนเพศเมีย จริงๆแล้ว ผู้เลี้ยงปลาโดยทั่วไป ก็สามารถแยกเพศปลาทองได้

วิธีการดูเพศของปลาทอง ถ้าดูที่ ลักษณะภายนอกของลำตัวปลาทอง แล้วจะจะหาความแตกต่างไม่พบ การแยกเพศจะทำได้ก็ต่อเมื่อปลามีการเจริญเติบโตเต็มวัย โดยปลาทองไว้ประมาณ 6 - 8 เดือน ขึ้นไป

วิธีสังเกตุคือ เพศผู้จะมีตุ่ม หรือจุดเล็กๆสีขาว เกิดขึ้นบริเวณ เหงือก และ ก้านครีบอันแรกของครีบช่วงอก ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะพอเห็นได้ และสามารถเห็นได้ชัดเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทอง แต่ในช่วงนอกฤดูกาลผสมพันธุ์ ตุ่มพวกนี้จะมีขนาดเล็กสังเกตุและได้ค่อนข้างยาก แต่ก็สามารถแยกเพศได้โดยการสัมผัส โดยใช้มือลูบเบาๆที่ครีบอก ถ้าเป็นปลาทองเพศผู้จะรู้สึกสากมือเนื่องจากมีตุ่มดังกล่าว แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะรู้สึกว่าครีบอกนั้นจะลื่น



ในภาพ ปลาทองตัวผู้ ช่วงผสมพันธุ์ มีตุ่มสีขาวๆให้เห็นบริเวณเหงือก อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ อีกวิธีหนึ่งคือในช่วงที่ปลาทอง มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ คือปลาเพศเมียมีไข่แก่ และปลาเพศผู้มีน้ำเชื้ออุดมสมบูรณ์ ถ้าจับที่บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม และที่ช่องเพศจะขยายตัวนูนสูงขึ้น ส่วนปลาเพศผู้ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องลงไปทางช่องเพศ จะเห็นว่ามีน้ำเชื้อซึ่งเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม ไหลออกมาเล็กน้อยได้ นอกจากนี้ในช่วงผสมพันธุ์ เราสามารถที่จะสังเกตุจาก พฤติกรรมของปลาทองได้ด้วย คือ ตัวผู้มักจะไล่ตามตัวเมีย

จริงๆแแล้วปลาทอง ตัวผู้และตัวเมีย มีความแตกต่างกันอีกในหลายๆอย่าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการจำแนก เช่น ตัวเมียจะมีลักษณะที่ใหญ่และอุ้ยอ้ายกว่าตัวผู้ที่ดูตัวเล็กกว่า และ ในส่วนคลีบหน้าอกของปลาตัวผู้จะมีลักษณะที่เรียวยาวกว่าตัวเมีย ที่มีคลีบกลม และหนากว่า ซึ่งถ้าไม่มีความชำนาญจะดูไม่ค่อยออก